วันนี้ (24 กรกฎาคม 2566) มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 4 ของโครงการศึกษาแผนแม่บทระบบรางในพื้นที่ กทม.-ปริมณฑล (M-MAP2) ด้วยครับ ซึ่งพวกเราก็เข้าร่วมประชุมนี้มาด้วยเช่นกัน จะมีอะไรอัปเดตบ้าง ตามมาดูกันเลยครับ 😆
เมื่อเดือนที่แล้วเราทิ้งเอาไว้ที่ Long List ซึ่งเป็นรายการ 33 เส้นทางที่เป็๋นไปได้ โดยมาจากที่มาต่างๆ โดยเราบอกไว้ว่าขั้นต่อไปคือการเอามาเขย่าๆ กรองเอาเส้นทางที่มีความสำคัญ มีความเป็นไปได้ มีศักยภาพ แล้วเอามาทำ Short List จัดเป็นกลุ่มต่างๆ ซึ่งนั่นก็คือความคืบหน้าในการประชุมวันนี้ครับ
จากเดือนที่แล้วที่มี 33 เส้นทาง รอบนี้บางเส้นทางได้ตัดแบ่งเป็นช่วงที่จำเป็นเพิ่มอีก ทำให้มีจำนวนเส้นทางเพิ่มขึ้นเป็น 45 เส้นทาง แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
กลุ่ม A1 — เส้นทางที่มีความจำเป็น พร้อมดำเนินการทันที
กลุ่ม A2 — เส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน
กลุ่ม B — เส้นทางที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้า
กลุ่ม C — เส้นทางที่จะเป็นระบบ Feeder เช่น Tram ล้อยาง / รถเมล์ไฟฟ้า
จะสังเกตว่า เส้นทางส่วนใหญ่จะไปตกลงในกลุ่ม C ซะเยอะ ซึ่งจะถูกพัฒนาเป็นระบบ Feeder ที่ไม่ใช่รถไฟฟ้าแทนครับ
ซึ่งเมื่อดูเฉพาะระบบรถไฟฟ้าอย่างเดียว ภาพรวมของผังเส้นทางรถไฟฟ้าจะออกมาประมาณนี้ครับ
ดาวน์โหลดภาพขนาดใหญ่ คลิกที่นี่
บางเส้นทางก็แอบน่าเสียดาย เช่น สายสีเหลืองต่อขยายจากลาดพร้าวไปรัชโยธิน ที่คราวนี้กลายเป็น Feeder ไปซะแล้ว หรือที่แปลกๆ ก็มีเช่นสายสีแดงจากธรรมศาสตร์รังสิตไปนวนคร ที่โดนเปลี่ยนให้เป็นระบบ Feeder แทน แล้วแบบนี้สายสีแดงจะได้ต่อไปถึงอยุธยามั้ย ก็น่าสงสัยอยู่เหมือนกัน
แต่ละกลุ่มจะมีเส้นทางไหนบ้าง ลองไปดูกันต่อด้านล่างได้เลยครับ 😀
กลุ่ม A1 — เส้นทางที่มีความจำเป็น พร้อมดำเนินการทันที
กลุ่ม A1 เส้นทางที่มีความจำเป็น พร้อมดำเนินการทันที จำนวน 4 เส้นทาง ได้แก่
- A1-1 รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต-ธรรมศาสตร์ (Commuter)
- A1-2 รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-ศาลายา (Commuter)
- A1-3 รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน-ศิริราช (Commuter)
- A1-4 รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-บึงกุ่ม (Light Rail)
กลุ่ม A2 — เส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน
กลุ่ม A2 — เส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน “คาดว่าดำเนินการภายในปี พ.ศ. 2572” 6 เส้นทาง ได้แก่
- A2-1 รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-หัวลำโพง (Commuter)
- A2-2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส (Heavy Rail)
- A2-3 รถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน (Heavy Rail)
- A2-4 รถไฟฟ้าสายสีแดง วงเวียนใหญ่-บางบอน (Commuter)
- A2-5 รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา-สุวรรณภูมิ (Light Rail)
- A2-6 รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ (Light Rail)
กลุ่ม B — เส้นทางที่มีศักยภาพจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้า
กลุ่ม B — เส้นทางมีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-MAP 1 หรือเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ จำนวน 9 เส้นทาง ได้แก่
- B-1 รถไฟฟ้าสายสีเทา พระโขนง-ท่าพระ (Light Rail)
- B-2 รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาทร-ดินแดง (Light Rail)
- B-3 รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล-ลำลูกกา (Light Rail)
- B-4 รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต-วงแหวนรอบนอก (Heavy Rail)
- B-5 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน-รัตนาธิเบศร์ (Heavy Rail)
- B-6 รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ-บางปู (Heavy Rail)
- B-7 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค-พุทธมณฑล สาย 4 (Heavy Rail)
- B-8 รถไฟฟ้าสายสีแดง บางบอน-มหาชัย-ปากท่อ (Commuter)
- B-9 รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง-วงเวียนใหญ่ (Commuter)
กลุ่ม C — เส้นทางที่จะเป็นระบบ Feeder เช่น Tram ล้อยาง / รถเมล์ไฟฟ้า
กลุ่ม C — เส้นทาง Feeder ดำเนินการเป็นระบบ Feeder เช่น Tram ล้อยาง, รถเมล์ไฟฟ้า จำนวน 26 เส้นทาง ได้แก่
- C-1 ลาดพร้าว-รัชโยธิน-ท่าน้ำนนท์
- C-2 ดอนเมือง-ศรีสมาน
- C-3 ศาลายา-มหาชัย
- C-4 ศรีนครินทร์-บางบ่อ
- C-5 คลอง 6-องค์รักษ์
- C-6 รัตนาธิเบศร์-แยกปากเกร็ด
- C-7 คลองสาน-ศิริราช
- C-8 บางซื่อ-พระราม 3
- C-9 ราชพฤกษ์-แคราย
- C-10 พระโขนง-ศรีนครินทร์
- C-11 บางซื่อ-ปทุมธานี
- C-12 เมืองทอง-ปทุมธานี
- C-13 บางแค-สำโรง
- C-14 แพรกษา-ตำหรุ
- C-15 ธรรมศาสตร์-นวนคร
- C-16 บางนา-ช่องนนทรี
- C-17 สุวรรณภูมิ-บางบ่อ
- C-18 บรมราชชนนี-ดินแดง-หลักสี่
- C-19 ธัญบุรี-ธรรมศาสตร์
- C-20 คลอง 3-คูคต
- C-21 มีนบุรี-สุวรรณภูมิ-แพรกษา-สุขุมวิท
- C-22 เทพารักษ์-สมุทรปราการ
- C-23 บางใหญ่-บางบัวทอง
- C-24 บางปู-จักรีนฤบดินทร์
- C-25 ครุใน-สมุทรปราการ
- C-26 ปทุมธานี-ธัญบุรี
สำหรับใครที่อยากอ่านรายละเอียดการประชุมฉบับเต็มๆ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ