ข่าวประชาสัมพันธ์

10 เทรนด์สังคมไทยหลังวิกฤต COVID-19 จาก FutureTales Lab by MQDC

การระบาดของโรค COVID-19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดผลกระทบในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงวิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างมาก คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นตามมา ก็คือ การดำเนินชีวิตของคนในสังคม หลังพ้นวิกฤติครั้งนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” (FutureTales Lab by MQDC)  หรือ ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ภายใต้ MQDC พาร่วมหาคำตอบ ผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบและรวบรวมข้อมูลของสังคมในอนาคตมาเป็น 10 เทรนด์ที่น่าสนใจ เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือในทุกการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


“ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” คืออะไร ?

ก่อนที่จะไปดูทั้ง 10 เทรนด์กัน อยากจะให้ทำความรู้จักกับ “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” กันก่อน เพราะบางคนต้องไม่เคยได้ยินชื่อนี้จากที่ไหนเลยแน่ๆ “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” คือศูนย์วิจัยเอกชนแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียนที่ทำการศึกษา วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างอนาคตที่ดีให้กับมนุษยชาติ เน้นการวิจัยใน 8 เรื่องสำคัญได้แก่

  • อนาคตของการอยู่อาศัย (Future of Living)
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรมหุ่นยนต์ (Technology & Robotics)
  • อนาคตของการรักษาสุขภาพ (Future of Healthcare)
  • อนาคตแห่งการเรียนรู้ (Future of Learning)
  • วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมโลก (Climate Crisis)
  • ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
  • อนาคตการใช้พลังงาน (Global Energy)
  • การใช้ชีวิตในอวกาศ (Space Exploration) 

นักวิจัยของฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ มุ่งวิเคราะห์ข้อมูล สำรวจและคาดการณ์อนาคต พร้อมสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือกับนักอนาคตศาสตร์ระดับประเทศและนานาชาติทั้ งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา รวมไปถึงชุมชนต่างๆ ศูนย์ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ ตั้งอยู่ที่โครงการทรู ดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพฯ โดยจะเป็นศูนย์หลักในการจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลเชิงลึกและแนวคิดใหม่ๆ ในด้านต่างๆ เช่น การออกแบบ นโยบายนักวิจัย และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น หากสนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.futuretaleslab.com


10 เทรนด์ที่จะเปลี่ยนไปหลังวิกฤต COVID-19

ดร.การดี เลียวไพโรจน์ หัวหน้าคณะที่ปรึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ศูนย์ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ โดย MQDC ได้หยิบยกประเด็นสำคัญ นำมาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือ Web of Impact แสดงให้เห็นถึงผลกระทบสังคมในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น หลังพ้นวิกฤติ COVID-19 ซึ่งสามารถสรุปเป็น 10 เทรนด์ที่สังคมไทยควรจะตั้งรับ ทั้งในแง่มุมพฤติกรรมการใช้ชีวิต การอยู่อาศัย การใช้เทคโนโลยี การเดินทาง และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนแนวโน้มของนโยบายภาพใหญ่ของรัฐบาล ดังนี้

1. Social Structure

หรือโครงการสร้างของสังคมใหม่ๆ ที่จะมีการออกกฎหมายที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก เป็นกฎหมายเดียวกันที่ช่วยในเรื่องของสุขภาพและความปลอดภัย รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยี IOT Infrastructure และระบบต่างๆ ทำให้คนสนใจมากยิ่งขึ้น ผู้คนจะเริ่มให้ความสำคัญต่อสุขภาพ และความเป็นอยู่มากกว่าเดิม โดยจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัว (privacy) เพื่อที่จะปกป้องสุขภาพ ทรัพย์สินของตัวเองและครอบครัวมากยิ่งขึ้น  


2.Resilience & Agile by Force

แม้ว่าในอนาคตหลังวิกฤติ COVID-19 ความเชื่อมั่นและความเชื่อใจในระดับบุคคลจะลดน้อยลง แต่ความร่วมมือระหว่างองค์กรและอุตสาหกรรมจะมีมากขึ้น ซึ่งภาครัฐจะใช้เวลาปรับตัวมากที่สุด และจะถูกปรับเปลี่ยนมากขึ้น เช่น กฎหมายพื้นฐาน การประชุมอย่างถูกกฎหมายผ่านทางออนไลน์ เป็นต้น วิกฤติครั้งนี้อาจเป็นการล้างไพ่ทางเศรษฐกิจในทางบวก คือรัฐและองค์กรธุรกิจสามารถใช้โอกาสนี้ในการจัดการเรียนผ่านออนไลน์ฟรีให้กับแรงงาน หรือการกำหนดระเบียบการทำงานที่ลดการใช้ทรัพยากรได้มากขึ้น


3.Global Emotional Crisis & Touchless Society

คือวิกฤติทางอารมณ์ของคนเมื่อต้องเผชิญกับความยากลำบากในสถานการณ์ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตได้แบบเดิมๆ นำไปสู่การสูญเสียสมดุลทางความคิดและอารมณ์ อาทิ เด็กรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมา จากเดิมมีวิธีการทักทายแบบจับมือหรือกอด แต่ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ทำให้ไม่สามารถทำได้ ดังนั้นปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพจึงมีระยะห่างกันออกไปเรื่อยๆ ส่งผลต่ออารมณ์ในแง่ของความใส่ใจ และความห่วงใยในอนาคต อย่างวัยทำงานที่นิยม Co–working Space ก็อาจจะปรับพื้นที่ในรูปแบบ Sharing Space With Boundary หรือ มีการแบ่งแยกพื้นที่ของตัวเองมากขึ้น และการออกแบบพื้นที่บริการแบบไม่ต้องสัมผัส แต่ใช้ Voice Recognition หรือ AR แทน


4.Public Space / Indoor Technology with Health Factor

จากความไม่เชื่อมั่นและความวิตกกังวลในความไม่ปลอดภัยเวลาที่ต้องออกไปยังพื้นที่สาธารณะต่างๆ ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องในด้านนี้ อาทิ ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ต้องมีการวางแผนรับมือ และสร้างเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การวางระบบฆ่าเชื้อสำคัญเหมือนการวางระบบแอร์ น้ำ ไฟ มีการกำหนดมาตรฐานระบบ Clean Air Quality ในอาคาร


5.Prioritizing Space Over Convenience

คือวิถีความคิดของผู้บริโภคในแง่การซื้อที่อยู่อาศัยจะเปลี่ยนไป เพราะที่ผ่านมาทุกอย่างจะรวมตัวกันอยู่กลางเมือง โดยยึดเอาแนวเส้นการเดินทางที่ใกล้รถไฟฟ้าเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อ แต่ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการทำงานในอนาคต สามารถทำงานที่บ้านได้ อาจจะไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่ทำงานทุกวัน จึงอาจจะส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัย ไม่จำเป็นต่ออยู่ในเมือง หรืออาศัยในคอนโดมิเนียมขนาดเล็กและขนาดกลางอีกต่อไป แต่อาจปรับเปลี่ยนเป็นบ้านนอกเมือง แต่มีพื้นที่มากขึ้น มีสวน มีที่จอดรถ หรือการปรับเปลี่ยนบ้านพักตากอากาศ (vacation home) มาใช้อาศัยประจำแทน


6.Everything At Home

หรือที่เรียกว่าเศรษฐกิจติดบ้าน อันเนื่องมาจากสถานการณ์โรคระบาด ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป เริ่มเคยชินกับการอาศัยอยู่ในบ้าน ทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ ภายในที่พักอาศัยของตนเอง ส่งผลต่อความต้องการที่พักอาศัยที่อาจจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่สามารถอาศัยในพื้นที่ที่มีขนาดเล็กได้ แต่ขณะนี้อาจจะไม่เพียงพอ และต้องการมีพื้นที่ที่สามารถทำอะไรได้หลายหลากมากยิ่งขึ้น อย่าง คอนโดมิเนียม ก็ต้องมีพื้นที่สำหรับการทำอาหาร พื้นที่ทำงานและออกกำลังกายได้


7.Proactive Healthcare Platform

จากเหตุการณ์โรคระบาด COVID-19 ทำให้แพลตฟอร์มการดูแลสุขภาพและการป้องกันความเจ็บป่วยนั้นมีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องจัดการให้ดี โดยเฉพาะบริการด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต


8.Last Mile & Next Hour Logistic

ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลง จะทำให้ระบบการขนส่งระยะสั้นแบบ 1 กิโลเมตร และการจัดส่งแบบรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมง จะเป็นที่ต้องการ และมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น 


9.Wearable Device – Prioritizing Health & Safety Over Privacy

คือการเติบโตของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ ซึ่งผู้บริโภคจะยอมให้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อแลกกับความปลอดภัยที่มีมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาแอปพลิเคชันที่เจาะลึกถึงข้อมูลมากยิ่งขึ้น สามารถดูได้ว่า ณ วันนี้ สถานที่ที่เราอยู่ ณ ตรงนี้ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งจะเป็นประเด็นในเรื่องของความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัว


10.Super Food & Food Supply Chain Transparency To Personal Food Supply

โดยส่วนใหญ่ผู้บริโภคจะรับประทานอาหารเพื่อความอร่อย แต่หลังจากนี้ผู้บริโภคจะเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น ต้องการความมั่นใจมากขึ้นว่าสินค้าที่จะนำมาปรุงอาหารมีมาตรฐาน ปลอดภัย และสะอาด รวมถึงผู้บริโภคบางส่วนเองเริ่มมีการทำฟาร์มขนาดเล็กในเมืองมากยิ่งขึ้น 


ทั้งหมดนี้ก็คือ 10 เทรนด์สังคมในอนาคตที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหลังพ้นวิกฤติ COVID-19 ซึ่ง “ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ” เชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อสังคมทุกภาคส่วน ในการเตรียมรับมือและพร้อมที่จะปรับตัวกับ The Next Normal หรือ ความปกติในรูปแบบใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังพ้นวิกฤติครั้งนี้


Related posts
ข่าวประชาสัมพันธ์

ขายได้ให้จริง! โอกาสรับเงิน 1,000,000 บาท* ง่ายๆ กับโปรแกรม #MembersGetNeighbors สิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้า LPN เพียงแนะนำเพื่อนจองซื้อโครงการฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์

“ทอสเท็ม” จัดแคมเปญพิเศษ อัปเกรดบานประตูเก่าให้เป็นประตู TOSTEM พร้อมมอบส่วนลดสูงสุด 10,000 บาท

ข่าวประชาสัมพันธ์

แสนสิริจัดแคมเปญแบรนด์สิริ เพลสและอณาสิริกับ “โปรสิริมงคล” ลดทันที 1.4 ลบ.* ราคาดี กู้ง่ายเริ่ม 1.79 ลบ. และจองต่ำเพียง 999 บาท*

ข่าวประชาสัมพันธ์

AP Thailand จัดแคมเปญ "ที่...ที่ดีที่สุดจากเอพี" กว่า 3,000 แบบบ้าน ใน 200 ทำเล