fbpx
ข่าวประชาสัมพันธ์

Dyson ชี้ มลภาวะในฤดูหมอกส่งผลกับอัตราการสัมผัสมลพิษของคนกรุงเทพได้แม้อยู่ในบ้าน

กรุงเทพมหานคร, 17 ธันวาคม 2564 – Dyson ได้จัดทำโครงการเพื่อสำรวจและวัดค่ามลพิษที่บุคคลได้รับในการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเดินทางไปทำงานจนไปถึงนั่งพักผ่อนอยู่ภายในอาคาร พบว่าปริมาณมลภาวะที่บุคคลได้รับเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหมอกควันหนาแม้จะอยู่ภายในบ้าน

โครงการนี้ได้จัดทำขึ้นในหลายเมืองทั่วโลกรวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยได้คุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ คุณพ่อและดิจิทัลครีเอเตอร์ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มาร่วมกระตุ้นการตระหนักรู้ในเรื่องสภาพมลภาวะทางอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการระยะยาวของ Dyson ในการให้ความรู้แก่คนทั่วไปเกี่ยวกับคุณภาพของอากาศรวมถึงสนับสนุนให้ทุกคนหันมาดูแลและควบคุมการสัมผัสกับมลภาวะของตนเอง


อเล็กซ์ น็อกซ์, รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องกรองอากาศของ Dyson กล่าวว่า “ทีมวิศวกรของเราได้พัฒนาเซนเซอร์อัจฉริยะขึ้นมาจากประสบการณ์และการวิจัยอย่างหนักหน่วงและยาวนานในด้านเทคโนโลยีเพื่ออากาศที่สะอาด และด้วยอัลกอริทึมที่จะมาช่วยประมวลข้อมูลมลภาวะที่ตรวจจับได้ เทคโนโลยีอันนี้ทำให้เราสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ทั้งภายในอาคาร นอกอาคาร หรือแม้แต่ขณะกำลังเดินทาง และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นคือทั้งหมดนี้สามารถติดตั้งอยู่ในกระเป๋าเป้

ในระหว่างการสำรวจคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร คุณหนุ่ย พงศ์สุข สะพายกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ใน 2 ช่วงเวลา ช่วงแรกระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคม ปี 2563 และอีกครั้งในเดือนมกราคมปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงฝุ่น PM2.5 หนาแน่นในกรุงเทพมหานคร โดยทั้งสองช่วงได้ใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรมเหมือนกันเพื่อนำมาเปรียบเทียบคุณภาพอากาศที่ได้รับ

คุณหนุ่ย พงศ์สุข ได้กล่าวเกี่ยวกับการร่วมงานกับ Dyson ไว้ว่า “กรุงเทพมหานครจะเผชิญกับฝุ่นและหมอกควันในช่วงหน้าหนาวของทุกๆ ปี โดยที่ค่ามลพิษในอากาศสามารถเพิ่มสูงเกินระดับปลอดภัยไปได้มากถึง 2 เท่า ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ในฐานะของพ่อที่มีลูกสาวสองคนที่ชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งมากๆ ความสำคัญของคุณภาพอากาศที่ครอบครัวผมหายใจเข้าไปทำให้ผมตัดสินใจร่วมโปรเจกต์นี้กับ Dyson ครับ”


Dyson Air Quality Backpack

Dyson Air Quality Backpack ได้นำเทคโนโลยีเซนเซอร์ในเครื่องฟอกอากาศของ Dyson มาพัฒนาและติดตั้งในกระเป๋าเป้ที่พกพาง่าย ทำให้สามารถวัดค่าคุณภาพอากาศได้ในขณะเดินทาง เพียบพร้อมด้วยแผงเซนเซอร์ แบตเตอรี่ และ ระบบ GPS โดยหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้ได้ข้อมูลเรื่องการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศของแต่ละบุคคลและนำไปสู่วิธีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสดังกล่าว

ทีมวิศวกรของ Dyson ได้ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ และระบบ GPS จากกระเป๋ารวมถึงบันทึกประจำวันของคุณหนุ่ย ที่บันทึกกิจกรรมในแต่ละวันที่สะพายกระเป๋าตรวจวัดคุณภาพอากาศนี้ ซึ่งจะทำให้รู้ว่ากิจกรรมไหนส่งผลต่อคุณภาพของอากาศที่ได้รับและจะมีวิธีการหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง

ผลการวัดค่าคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร

จากการเปรียบเทียบคุณภาพอากาศในสองช่วง ค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศในช่วงที่ 2 ที่เป็นช่วงฝุ่นหนาวัดค่าได้มากกว่าถึง 9 เท่า โดยในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงเดือนที่มีอากาศเย็นที่ฝุ่นควัน PM2.5 หนาแน่น ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากหลายปัจจัย ทั้งไอเสียจากยานยนต์ สภาพอากาศ ควันจากโซนอุตสาหกรรม รวมไปถึงควันจากกิจกรรมทางการเกษตร

โดยในช่วงนี้ Dyson Air Quality Backpack สามารถวัดค่า PM2.5 ระหว่างที่คุณหนุ่ยลงจากรถและเดินทางเข้าอาคารได้ว่าระดับฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงขึ้นถึง 3.8 เท่า เทียบกับในรถยนต์ โดยสาเหตุมาจากการเผชิญกับระดับฝุ่นในสถานที่กลางแจ้งในช่วงฝุ่นหนาแน่น

นอกจากนั้น กิจกรรมในแต่ละวันยังส่งผลต่อการเพิ่มของค่ามลภาวะในอากาศด้วย ตัวอย่างเช่นการเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ทำให้ค่า ไนโตรเจนไดออกไซด์ NO2 สูงถึง 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติถึง 50 เท่า ซึ่งถือเป็นคุณภาพอากาศในระดับ แย่มาก เมื่อเทียบกับดัชนีวัดค่าคุณภาพอากาศของ Dyson โดยสาเหตุการเกิดไนโตรเจนไดออกไซด์อาจจะมาจากไอเสียจากยานยนต์

และถึงแม้ขณะที่ขับรถยนต์อยู่ภายในห้องโดยสาร ก็ยังสามารถวัดค่า PM2.5 และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound: VOCs) ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสาเหตุมาจากการเบรกรถยนต์และการสึกของยางรถยนต์ที่ถึงแม้จะอยู่ภายในห้องโดยสารก็ยังสามารถสัมผัสกับมลภาวะจากทางนี้ได้

โดยปกติแล้วคุณภาพอากาศภายนอกอาคารจะส่งผลต่ออากาศภายในอาคาร แต่ในบางกรณีสาเหตุจากมลภาวะก็มาจากภายในอาคารได้เช่นกัน โดยจากการวัดค่าด้วยกระเป๋า Dyson Air Quality Backpack ของคุณหนุ่ย พงศ์สุข พบค่าฝุ่น PM2.5 ในอากาศแม้จะอยู่ในบ้าน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการทำอาหาร หรือแม้แต่การไหลเวียนของอากาศที่ทำให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย รวมไปถึงเมื่อเปิดประตูหรือหน้าต่างทำให้อากาศภายนอกซึ่งมีฝุ่น PM2.5 ไหลเข้ามาในบ้าน

แม้ในช่วงนอนหลับ ค่ามลภาวะในอากาศก็ยังคงที่อยู่ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและไม่ได้ลดลงในช่วง 10 ชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าระดับปลอดภัยตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกถึงสองเท่า ซึ่งสาเหตุเกิดจากการไหลเวียนของอากาศที่น้อยเกินไปทำให้มลภาวะเกิดการสะสมภายในบ้าน

ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศภายในอาคารในกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลจากเครื่องกรองอากาศแสดงให้เห็นค่าเฉลี่ยของระดับ PM2.5 ภายในอาคารในช่วงหมอกควันหนาสูงขึ้นถึงสองเท่า เมื่อเทียบกับช่วงที่ไม่มีหมอกควัน ซึ่งตรงกับการตรวจวัดค่าด้วย Dyson Air Quality Backpack ซึ่งทำให้เห็นค่าคุณภาพอากาศที่เปลี่ยนจากระดับ “ดี” ในช่วงแรก เป็นระดับ “ปกติ” ในช่วงที่สอง

โดยหนุ่ย พงศ์สุขได้กล่าวถึงผลการสำรวจจากความร่วมมือกับ Dyson ไว้ว่า “พวกเราทราบกันอยู่แล้วนะครับเรื่องสภาวะมลพิษในอากาศ ผมคิดว่าข้อมูลจากการสำรวจครั้งนี้ทำให้เราเห็นภาพความแตกต่างระหว่างสองช่วงและช่วยให้เราตระหนักถึงปัญหานี้ในชีวิตประจำวันของเรา ซึ่งถ้าเรารับรู้และสามารถปรับพฤติกรรมได้ เราจะสามารถลดการสัมผัสต่อมลภาวะในอากาศไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ”

  1. ค่าเฉลี่ยสูงสุดของฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ Dyson air quality backpack ตรวจวัดได้ในช่วงฝุ่นหนาเดือนมกราคา 2564 อยู่ที่ 34.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  2. ตามข้อแนะนำล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในอากาศไว้ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  3. ค่าฝุ่น PM2.5 ที่วัดได้จาก Dyson Air Quality Backpack ในช่วงที่ไม่มีหมอกควัน (กรกฎาคม-ตุลาคม 2563) อยู่ที่ 3.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบกับช่วงที่มีหมอกควัน (เดือนมกราคม 2564) อยู่ที่ 30.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  4. อ้างอิงจากรายงานของ Stockholm Environment Institute. https://cdn.sei.org/wp-content/uploads/2021/02/210212c-killeen-archer-air-quality-in-thailand-wp-2101e-final.pdf
  5. ค่าเฉลี่ยของฝุ่น PM2.5 ที่วัดได้ในรถยนต์อยู๋ที่ 30 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรและที่วัดได้กลางแจ้งก่อนเข้าอาคารอยู่ที่ 115 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  6. ตามข้อแนะนำล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดค่ามาตรฐานฝุ่น PM2.5 ในอากาศไว้ที่ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ambient-(outdoor)-air-quality-and-health
  7. ค่าเฉลี่ยสูงสุดของฝุ่น PM2.5 ในอากาศที่ Dyson air quality backpack ตรวจวัดได้ในช่วงฝุ่นหนาเดือนมกราคา 2564 อยู่ที่ 34.9 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  8. ข้อมูลเก็บจากเครื่องกรองอากาศของ Dyson กว่า 4,200 เครื่องในกรุงเทพมหานคร
  9. ข้อมูลเก็บจากเครื่องกรองอากาศของ Dyson กว่า 4,200 เครื่องในกรุงเทพมหานครวัดค่า PM2.5 ในช่วงไม่มีหมอกควัน (กรกฎาคม – ตุลาคม 2563) อยู่ที่ 19.8 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และช่วงที่มีหมอกควัน (มกราคม 2564) อยู่ที่ 41.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ข้อมูลเพิ่มเติม

Dyson Air Quality Backpack

กระเป๋าเป้วัดค่าคุณภาพอากาศริเริ่มพัฒนาโดยทีมวิศวกรของ Dyson ในการวิจัยที่ชื่อ Breathe London ที่ร่วมมือกับ Kings College London และ Greater London Authority การวิจัยเข้าร่วมโดยนักเรียนจำนวน 258 คนจาก 5 โรงเรียนในกรุงลอนดอน เพื่อวัดค่ามลพิษของชนิด ได้แก่ PM2.5 และไนโตรเจนไดออกไซด์ระหว่างทำกิจกรรมที่โรงเรียน

จากผลการวิจัย ทำให้นักเรียน 31% กล่าวว่าจะเปลี่ยนวิธีการเดินทางไป-กลับโรงเรียนเพื่อลดการสัมผัสกับมลพิษในอากาศ

เทคโนโลยีจาก Dyson

  • เครื่องกรองอากาศของ Dyson ใช้เซนเซอร์ที่สามารถตรวจจับอนุภาค ไนโตรเจนไดออกไซด์ และ VOCs ในการตรวจสอบคุณภาพอากาศภายในห้อง โดยมีอัลกอริธึ่มที่ทำให้เครื่องกรองอากาศดักจับมาลพิษในอากาศและปล่อยอากาศบริสุทธิ์ไปทั่วบ้าน โดยสามารถตรวจจับและรายงานได้ทั้ง PM2.5, PM10, VOCs, และ NO2
  • ภายใน Dyson Air Quality Backpack ติดตั้งด้วยเซนเซอร์ 3 ตัวที่ทำหน้าที่ต่างกัน โดยตัวที่หนึ่งทำหน้าที่วัดอุณหภูมิและความชื้นในอากาศ ตัวที่สงอคือเซนเซอร์ก๊าซที่ตรวจจับ NO2 และ VOCs และตัวสุดท้ายใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ในการตรวจจับ PM2.5 และ PM10

สารมลพิษที่พบได้ทั่วไปในเมือง

  • PM2.5 – อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน รวมไปถึงควัน แบคทีเรีย และฝุ่นละออง
  • PM10 – อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน เช่นละออง ฝุ่น สะเก็ดผิวหนังจากสัตว์เลี้ยง และเกสรจากพืช
  • ไนโตรเจน ไดออกไซด์ (NO2) – ก๊าซอันตรายที่เกิดจากการเผาไหม้จากเครื่องยนต์ ควันบุหรี่ เทียน และเตาแก๊ส
  • ซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (SO2) – ก๊าซที่เกิดจากอุตสาหกรรมและการไอเสียรถยนต์
  • สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) – ก๊าซที่เกิดได้จากหลายแหล่ง เช่นสี น้ำยาเคลือบเงา สเปรย์ทำความสะอาด และสเปรย์ปรับอากาศ โดย VOCs เหล่านี้รวมไปถึงฟอร์มัลดีไฮด์ สารระเหยเบนซิน และเครื่องหอมภายในบ้าน

ข้อแนะนำในการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับมลพิษในอากาศ

พื้นที่สาธารณะ

  • เช็คพยากรณ์สถาพอากาศในพื้นที่ที่คุณจะเดินทางและหลีกเลี่ยงการเผชิญกับมลภาวะในอากาศกลางแจ้ง
  • หากมีสถานการณ์มลภาวะในอากาศ เช่นหมอกควันในช่วงหน้าหนาว หลีกเลี่ยงการออกนอกตัวอาคาร และปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด และใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดมลพิษในอากาศ

ระหว่างการเดินทาง

  • เลือกเส้นทางที่การจราจรไม่หนาแน่นเพื่อลดการสัมผัสจากมลพิษที่เกิดจากยานยนต์
  • หากเดินทางในสภาพการจราจรที่หนาแน่น ปิดหน้าต่างรถยนต์ให้มิดชิด และหากมีระบบไหลเวียนอากาศภายในห้องโดยสาร ให้กดใช้เพื่อลดการนำอากาศจากภายนอกเข้ามาในห้องโดยสาร

มลภาวะภายในอาคาร

  • ลดสาเหตุที่ทำให้เกิดมลภาวะเช่นเทียนหอมหรือสเปรย์ทำความสะอาดในครัวเรือน
  • หากอากาศภายนอกไม่มีมลภาวะ เปิดหน้าต่างเพื่อช่วยในการไหลเวียนของอากาศ แต่หากอากาศภายนอกมีมลภาวะให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด
  • ใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดฝุ่นละออกและก๊าซไม่พึงประสงค์ภายในบ้าน

การทำอาหารภายในบ้าน

  • วิธีการประกอบอาหาร แต่เวลาที่ใช้ส่งผลต่อการสะสมของมลพิษในอากาศ
  • วางเครื่องกรองอากาศไว้บริเวณใกล้ห้องครัวเพื่อดักจับมลพิษที่เกิดจากการประกอบอาหารได้ดีขึ้น

เกี่ยวกับ Dyson

Dyson คือบริษัทด้านการวิจัยและเทคโนโลยีระดับโลก ด้วยงานด้านวิศวกรรม วิจัย พัฒนา ผลิต และทดสอบการปฏิบัติการในสิงคโปร์ สหราชอาณาจักร มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มต้นจากโรงรถในสหราชอาณาจักร Dyson เติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อตั้งในปี 1993 ปัจจุบัน Dyson มีสำนักงานเทคโนโลยี 2 แห่งในสหราชอาณาจักรภายใต้พื้นที่กว่า 800 เอเคอร์ใน มาล์มสบิวรี และ ฮัลลาวิงตัน และสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์ Dyson ยังคงเป็นบริษัทของครอบครัวที่มีพนักงานกว่า 14,000 คนทั่วโลก รวมถึงวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์กว่า 6,000 คน วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใน 83 ประเทศทั่วโลก

Dyson ลงทุนกว่า 2,750 ล้านยูโรในการสร้างผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่จะปฏิวัติวงการ Dyson มีทีมวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์จากทั่วโลกที่มุ่งมั่นในการพัฒนาแบตเตอรี่โซลิดสเตท, ดิจิทัลมอเตอร์ไฟฟ้าความเร็วสูง, ระบบเซนซิงและวิชั่น, วิทยาการหุ่นยนต์, เทคโนโลยีการเรียนรู้ของเครื่อง, และการลงทุนด้านปัญญาประดิษฐ์ ตั้งแต่การลงทุนในเครื่องดูดฝุ่นไซโคลนไร้ถุง DC01- เครื่องแรกในปี 1993 Dyson ได้สร้างเทคโนโลยีที่ช่วยแก้ปัญหาทั้งสำหรับเส้นผม, การกรองอากาศ, หุ่นยนต์, โคมไฟ, และเครื่องเป่ามือ

Related posts
ข่าวประชาสัมพันธ์

แสนสิริ รุกโมเดล Sansiri Community ปั้น “เวสต์เกต คอมมูนิตี้” บนพื้นที่ 215 ไร่

ข่าวประชาสัมพันธ์

กิ่งก้านใบ จัดโชว์ครั้งแรกในไทย! “Ripple Retreat: The Garden Runway”

ข่าวประชาสัมพันธ์

“บริทาเนีย” กางแผน “Crafting for Everlasting Growth” เปิดบ้านจัดสรรใหม่ปี 2567 รุกหนัก 6 จังหวัด

ข่าวประชาสัมพันธ์

ออริจิ้น จัดทัพผู้บริหาร ปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจคอนโดสู่ “ORIGIN VERTICAL”กางแผนเปิด 14 คอนโดใหม่ทั่วประเทศ 20,000 ล้าน ส่งมอบ Creative Living for All