โครงการรถไฟฟ้า
สายสีเขียวอ่อน
(บีทีเอสสายสุขุมวิท)

จุดเด่นของรถไฟฟ้าสายนี้

  • เป็นรถไฟฟ้าสายหลักที่วิ่งตัดตรงเข้าสู่ใจกลางเมือง และต่อขยายออกไปสู่ชานเมืองทั้งทางเหนือ (คูคต-ลำลูกกา) และทางทิศใต้ (สมุทรปราการ)
  • เป็นรถไฟฟ้าสายที่เสมือนเป็นสายเดียวกันกับ สายสีเขียวเข้ม (สายสีลม) สามารถเปลี่ยนขบวนได้สะดวกโดยไม่ต้องซื้อตั๋วใหม่
  • วิ่งไปตามถนนสายหลักของกรุงเทพฯ ทั้งถนนพหลโยธิน และถนนสุขุมวิท ผ่านย่านธุรกิจสำคัญๆ มากมาย
  • มีจำนวนขบวนรถไฟให้บริการเยอะมาก ขบวนยาว 4 ตู้ วิ่งค่อนข้างถี่ และเปิดให้บริการเร็ว-ปิดดึกมาก (ขบวนแรกออกจากต้นทาง 5:15 น. ขบวนสุดท้ายออกจากต้นทาง 0:14 น.)

รูปแบบโครงการ

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดิน มีสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว 31 สถานี (รวมสถานีสยามที่เป็นสถานีร่วมกับสายสีลม) มีรถไฟฟ้าให้บริการในสายสุขุมวิทและสายสีลมรวมกันจำนวน 52 ขบวน (ขบวนละ 4 ตู้) และกำลังอยู่ระหว่างสั่งผลิตและรอส่งมอบอีก 46 ขบวน (บางขบวนส่งมาแล้วกำลังวิ่งทดสอบในเส้นทางสำโรง-เคหะฯ) นั่นหมายความว่าเมื่อรถไฟฟ้าล็อตนี้ส่งมาครบในปี 2563 บีทีเอสจะมีขบวนรถไฟให้บริการทั้งหมด 98 ขบวนเลยทีเดียว!

ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายนี้ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ได้รับสัมปทานโครงการ 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการจากกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน


แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (บีทีเอสสายสุขุมวิท)

แนวเส้นทางเป็นแนวเหนือ-ตะวันออก ผ่านพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี และ สมุทรปราการ เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณย่านลำลูกกา วิ่งไปตามแนวถนนลำลูกกา จากนั้นเบี่ยงซ้ายเข้าถนนเลียบเส้นทางกับกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศของกองทัพอากาศ เข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร วิ่งผ่านพื้นที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กองทัพอากาศ, กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, ม.ศรีปทุม, ม.เกษตรศาสตร์, แยกรัชโยธิน, ห้าแยกลาดพร้าว ยกระดับข้ามดอนเมืองโทลล์เวย์ ผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เมื่อถึงแยกปทุมวันแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระรามที่ 1 และมุ่งตรงไปยังถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิท เข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการอีกหลายแห่ง เช่น พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ, โรงเรียนนายเรือ, ศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ และสิ้นสุดเส้นทางที่ย่านบางปู

เมื่อรถไฟฟ้าสายนี้สร้างเสร็จทั้งเส้นทาง จะมีระยะทางรวม 52.65 กิโลเมตร และจะมีสถานีรวมทั้งสิ้น 57 สถานี (รวมสถานีสยามที่เป็นสถานีร่วมกับ สายสีลม) รถไฟฟ้าสายนี้จึงเป็นเส้นทางระบบขนส่งมวลชนที่ยาวที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิทนั้น แรกเริ่มเดิมทีเมื่อเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2542 มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีหมอชิต-อ่อนนุช หลังจากนั้นก็มีการเปิดส่วนต่อขยายจากสถานีอ่อนนุช-แบริ่ง, แบริ่ง-สำโรง และล่าสุดกำลังเปิดทดลองให้บริการในส่วนต่อขยายตั้งแต่สถานีสำโรง-เคหะฯ โดยส่วนต่อขยายทั้งสายนี้อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ

เวลาเปิด/ปิดบริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบันให้บริการตั้งแต่ก่อน 6 โมงเช้า จนถึงหลังเที่ยงคืน โดยแต่ละสถานีจะมีเวลาออกของรถขบวนแรกและขบวนสุดท้ายแตกต่างกัน ตามตารางด้านล่าง

ที่มา: เว็บไซต์บีทีเอส

ความคืบหน้าของส่วนต่อขยาย

ส่วนต่อขยายที่กำลังก่อสร้าง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือ ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ตอนนี้มีความก้าวหน้าตามแผนงาน โดยงานก่อสร้างหลักๆ ใกล้แล้วเสร็จ และงานติดตั้งระบบต่างๆ ก็เริ่มเข้าพื้นที่แล้วครับ โดยปัจจุบันเปิดบริการไปแล้ว 1 สถานี คือสถานีห้าแยกลาดพร้าว และในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 จะเปิดเพิ่มอีก 4 สถานี คือ พหลโยธิน 24, รัชโยธิน, เสนา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำหรับส่วนต่อขยายส่วนนี้คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ครบทุกสถานี ภายในปี 2563

ที่มา: ไทยพีบีเอส (28 พฤศจิกายน 2562)

ส่วนต่อขยายในอนาคต

กรุงเทพมหานครได้สั่งทบทวนและชะลอโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 1.37 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 1.19 หมื่นล้านบาท เพราะต้องการดูปริมาณผู้โดยสารว่ามีทิศทางเป็นอย่างไรและจะเหมาะสมในการต่อขยายเส้นทางออกไปหรือไม่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 1-2 ปีหลังจากส่วนต่อขยายปัจจุบันเปิดให้บริการ ในการเก็บข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ปริมาณผู้โดยสาร

ที่มา: ไทยโพสต์ (20 ตุลาคม 2561)

สถานีเสนาร่วม (สถานีในอนาคต)

หลายคนอาจจะสังเกตว่ารถไฟฟ้าสายนี้มีสถานีที่ปรากฎในแผนที่ แต่ยังไม่ได้มีการสร้างสถานีขึ้นจริง ได้แก่ สถานีศึกษาวิทยา (S4) และสถานีเสนาร่วม (N6) สองสถานีนี้เป็นสถานีในอนาคตที่ BTS จะดำเนินการสร้างเมื่อการประมาณการผู้โดยสารถึงจุดที่คุ้มค่าต่อการก่อสร้าง

โดยปัจจุบันสถานีศึกษาวิทยา (S4) มีโครงการจะก่อสร้างเพิ่มเติม และผ่านการอนุมัติ EIA เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในช่วงของการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2564


ตำแหน่งสถานีและบริเวณใกล้เคียง

ช่วงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
(หมอชิต-เคหะฯ)

(N7) สะพานควาย

(N5) อารีย์

(N4) สนามเป้า

(N3) อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

(N1) ราชเทวี

(CEN) สยาม

สถานีร่วมระหว่าง

สายสุขุมวิท และ สายสีลม

(E1) ชิดลม

(E2) เพลินจิต

(E3) นานา

(E5) พร้อมพงษ์

(E6) ทองหล่อ

(E7) เอกมัย

(E8) พระโขนง

รถไฟฟ้าสายสีเทา

(E9) อ่อนนุช

(E10) บางจาก

(E11) ปุณณวิถี

(E14) แบริ่ง

(E16) ปู่เจ้า

(E17) ช้างเอราวัณ

(E18) โรงเรียนนายเรือ

(E19) ปากน้ำ

(E20) ศรีนครินทร์

(E21) แพรกษา

(E21) สายลวด

(E23) เคหะฯ


ช่วงที่อยู่ในระหว่างก่อสร้าง

ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

(N9) ห้าแยกลาดพร้าว

รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน

ตั้งอยู่บนถนนพหลโยธิน หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว

(N10) พหลโยธิน 24

รถไฟฟ้าสายสีเหลือง

ตั้งอยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 24-26

(N11) รัชโยธิน

ตั้งอยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 30-30/1

(N12) เสนานิคม

ตั้งอยู่บริเวณซอยพหลโยธิน 34 และกรมพัฒนาที่ดิน

(N13) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

ตั้งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ และกรมส่งเสริมการเกษตร

(N14) กรมป่าไม้

ตั้งอยู่บริเวณสำนักงานกรมป่าไม้ และกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก

(N15) บางบัว

ตั้งอยู่บริเวณโรงเรียนบางบัว และมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(N16) กรมทหารราบที่ 11

ตั้งอยู่บริเวณกรมทหารราบที่ 11 บริเวณซอยพหลโยธิน 53 ใกล้กับเขตการเดินรถประจำทาง ขสมก. เขต 1 (อู่บางเขน)

(N17) สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ

รถไฟฟ้าสายสีชมพู

ตั้งอยู่บริเวณวงเวียนหลักสี่ (ที่ตั้งเดิมของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ), สำนักงานเขตบางเขน และโรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์

(N18) พหลโยธิน 59

ตั้งอยู่บริเวณซอบพหลโยธิน 59, สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และห้างเทสโก้ โลตัส สาขาหลักสี่

(N19) สายหยุด

ตั้งอยู่บริเวณซอยสายหยุด พหลโยธิน 48

(N20) สะพานใหม่

ตั้งอยู่บริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญ

(N21) โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

ตั้งอยู่หน้าโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช, กองทัพอากาศ และกรมการแพทย์ทหารอากาศ

(N22) พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ

ตั้งอยู่ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ และหอประชุมกานตรัตน์

(N23) แยก คปอ.

เดิมชื่อสถานี กม.25 ตั้งอยู่บริเวณแยก คปอ. กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ

เชื่อมต่อกับอาคารจอดรถ (Park & Ride Building) จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,042 คัน

(N24) คูคต

ตั้งอยู่หน้าสถานีตำรวจภูธรคูคต

เชื่อมต่อกับ อาคารจอดรถ (Park & Ride Building) จอดรถยนต์ได้ประมาณ 713 คัน


ส่วนต่อขยายในอนาคต

ช่วงคูคต-ลำลูกกา

(N25) คลองสาม

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 3) ใกล้กับวัดสายไหม, โรงเรียนสายไหม และโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2

(N26) คลองสี่

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 4) ใกล้กับสามแยกถนนพระองค์เจ้าสาย/ถนนไสวประชาราษฎร์ ใกล้กับห้างบิ๊กซีลำลูกกาคลอง 4

(N27) คลองห้า

อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 5) ใกล้คลังน้ำมันเอสโซ่ และแยกต่างระดับลำลูกกา

(N28) วงแหวน-ลำลูกกา

ตั้งอยู่ใกล้กับห้างบิ๊กซีลำลูกกาคลอง 5 และโฮมโปรลำลูกกา

ช่วงเคหะฯ-ตำหรุ

(E24) สวางคนิวาส

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 59 ใกล้กับสวางคนิวาส ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย

(E25) เมืองโบราณ

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 65 ใกล้กับเมืองโบราณ

(E26) ศรีจันทร์ประดิษฐ์

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 96 ทางเข้าวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์

(E27) บางปู

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 77 ใกล้กับสถานตากอากาศบางปู และนิคมอุตสาหกรรมบางปู

(E28) ตำหรุ

ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 108 ก่อนถึงแยกถนนตำหรุ-บางพลี ประมาณ 500 เมตร