โครงการรถไฟฟ้า
สายสีเขียวเข้ม
(บีทีเอสสายสีลม)
จุดเด่นของรถไฟฟ้าสายนี้
- รถไฟฟ้าสายแรกของฝั่งธนบุรี สร้างการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาให้กับฝั่งธนบุรีมาตั้งแต่ปี 2552
- เป็นรถไฟฟ้าสายที่เสมือนเป็นสายเดียวกันกับ ⬤ สายสีเขียวอ่อน (สายสุขุมวิท) ทำให้สามารถเดินทางผ่านใจกลางเมืองไปได้ทุกทิศทางโดยไม่ต้องแตะบัตรออกจากระบบ
- วิ่งผ่านย่านธุรกิจสำคัญอย่างสีลม สาทร สยาม
- มีจำนวนขบวนรถไฟให้บริการเยอะมาก ขบวนยาว 4 ตู้ วิ่งค่อนข้างถี่ และเปิดให้บริการเร็ว-ปิดดึกมาก (ขบวนแรกออกจากต้นทาง 5:30 น. ขบวนสุดท้ายออกจากต้นทาง 0:27 น.)
รูปแบบโครงการ
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดิน มีสถานีที่เปิดให้บริการแล้ว 13 สถานี (รวมสถานีสยามที่เป็นสถานีร่วมกับสายสุขุมวิท) มีรถไฟฟ้าให้บริการในสายสีลมและสายสุขุมวิทรวมกันจำนวน 52 ขบวน (ขบวนละ 4 ตู้) และกำลังอยู่ระหว่างสั่งผลิตและรอส่งมอบอีก 46 ขบวน (บางขบวนส่งมาแล้วกำลังวิ่งทดสอบในเส้นทางสำโรง-เคหะฯ) นั่นหมายความว่าเมื่อรถไฟฟ้าล็อตนี้ส่งมาครบในปี 2563 บีทีเอสจะมีขบวนรถไฟให้บริการทั้งหมด 98 ขบวนเลยทีเดียว!
ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายนี้ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ได้รับสัมปทานโครงการ 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการจากกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน
แนวเส้นทางของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (บีทีเอสสายสีลม)
แนวเส้นทางจากใจกลางเมืองที่สถานียศเส วิ่งไปตามถนนพระรามที่ 1 ผ่านสยามสแควร์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนราชดำริ ตรงไปตามถนนสีลม เลี้ยวซ้ายที่ถนนนราธิวาสฯ เลี้ยวขวาเข้าถนนสาทร แล้ววิ่งตรงไปตามถนนสาทร ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่กึ่งกลางสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สะพานตากสิน) วิ่งไปตามถนนกรุงธนบุรีและถนนราชพฤกษ์ สิ้นสุดเส้นทางที่สถานีตลิ่งชัน บริเวณถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนเลียบทางรถไฟสายใต้
รถไฟฟ้าสายนี้ตัดผ่านพื้นธุรกิจหลักของกรุงเทพฯ คือย่านสีลม-สาทร และเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางเข้าเมืองของคนฝั่งธนบุรี เมื่อสร้างเสร็จทั้งเส้นทาง จะมีระยะทางรวมประมาณ 22.5 กิโลเมตร และมีสถานี 21 สถานี (รวมสถานีสยามที่เป็นสถานีร่วมกับ ⬤ สายสุขุมวิท)
สำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีลมนั้น แรกเริ่มเดิมทีเมื่อเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2542 มีเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน หลังจากนั้นก็มีการเปิดส่วนต่อขยายจากสถานีสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่ และเปิดให้บริการเพิ่มเติมจนถึงสถานีบางหว้าในปี 2556
เวลาเปิด/ปิดบริการ
รถไฟฟ้าบีทีเอสในปัจจุบันให้บริการตั้งแต่ก่อน 6 โมงเช้า จนถึงหลังเที่ยงคืน โดยแต่ละสถานีจะมีเวลาออกของรถขบวนแรกและขบวนสุดท้ายแตกต่างกัน ตามตารางด้านล่าง
ที่มา: เว็บไซต์บีทีเอส
ความคืบหน้าของส่วนต่อขยาย
สถานีศึกษาวิทยา (สถานีในอนาคต)
หลายคนอาจจะสังเกตว่ารถไฟฟ้าสายนี้มีสถานีที่ปรากฎในแผนที่ แต่ยังไม่ได้มีการสร้างสถานีขึ้นจริง ได้แก่ สถานีศึกษาวิทยา (S4) และสถานีเสนาร่วม (N6) สองสถานีนี้เป็นสถานีในอนาคตที่ BTS จะดำเนินการสร้างเมื่อการประมาณการผู้โดยสารถึงจุดที่คุ้มค่าต่อการก่อสร้าง
โดยปัจจุบันสถานีศึกษาวิทยา (S4) มีโครงการจะก่อสร้างเพิ่มเติม และผ่านการอนุมัติ EIA เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ในช่วงของการเตรียมการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดให้บริการประมาณปี 2564
ส่วนต่อขยายในอนาคต
จากข่าวล่าสุดประมาณกลางปี 2561 ที่ผ่านมา ระบุว่ากรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการศึกษาและทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) สำหรับโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายจาก สถานีบางหว้า (S12) ถึง สถานีตลิ่งชัน (S18) แต่มีปัญหาล่าช้ามาตั้งแต่ปี 2558 เนื่องจากติดปัญหาการหาพื้นที่สร้างสถานีจ่ายไฟฟ้า ปัจจุบันยังไม่มีข่าวคราวความคืบหน้าของส่วนต่อขยายสายนี้
ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ (10 พฤษภาคม 2561)
ในขณะที่ส่วนต่อขยายจาก สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ (W1) ถึง สถานียศเส (W2) จำนวน 1 สถานีเพื่อไปเชื่อมต่อกับ ⬤ รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม ยังไม่มีแผนและความคืบหน้าใดๆ
ตำแหน่งสถานีและบริเวณใกล้เคียง
ช่วงที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน
(สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า)
(W1) สนามกีฬาแห่งชาติ
(CEN) สยาม
สถานีร่วมระหว่าง
⬤ สายสุขุมวิท และ ⬤ สายสีลม
(S1) ราชดำริ
(S2) ศาลาแดง
(S3) ช่องนนทรี
⬤ รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที
⬤ รถไฟฟ้าสายสีเทา
(S5) สุรศักดิ์
(S6) สะพานตากสิน
⬤ ท่าเรือสาทร
(S7) กรุงธนบุรี
(S8) วงเวียนใหญ่
(S9) โพธิ์นิมิตร
(S10) ตลาดพลู
⬤ รถโดยสารด่วนพิเศษบีอาร์ที
⬤ รถไฟฟ้าสายสีเทา
(S11) วุฒากาศ
(S12) บางหว้า
ส่วนต่อขยายในอนาคต
สถานีศึกษาวิทยา
(S4) ศึกษาวิทยา
อยู่บนถนนสาทร ระหว่างสถานีช่องนนทรี (S3) และสถานีสุรศักดิ์ (S5) ใกล้อาคาร AIA สาทรทาวเวอร์
ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-ยศเส
(W2) ยศเส
⬤ รถไฟชานเมืองสายสีแดงเข้ม
อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 3) ใกล้กับวัดสายไหม, โรงเรียนสายไหม และโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2
ช่วงบางหว้า-ตลิ่งชัน
(S13) บางแวก
อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 3) ใกล้กับวัดสายไหม, โรงเรียนสายไหม และโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2
(S14) บางเชือกหนัง
อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 4) ใกล้กับสามแยกถนนพระองค์เจ้าสาย/ถนนไสวประชาราษฎร์ ใกล้กับห้างบิ๊กซีลำลูกกาคลอง 4
(S15) บางพรม
อยู่บนถนนลำลูกกา (คลอง 5) ใกล้คลังน้ำมันเอสโซ่ และแยกต่างระดับลำลูกกา
(S16) อินทราวาส
ตั้งอยู่ใกล้กับห้างบิ๊กซีลำลูกกาคลอง 5 และโฮมโปรลำลูกกา
(S17) บรมราชชนนี
ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 59 ใกล้กับสวางคนิวาส ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย
(S18) ตลิ่งชัน
⬤ รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน
ตั้งอยู่บริเวณซอยเทศบาลบางปู 65 ใกล้กับเมืองโบราณ